ศาลจีน สั่ง สามี จ่ายเงินชดเชยค่าทำงานบ้าน หลังหย่ากับภรรยา

ศาลจีน สั่ง สามี จ่ายเงินชดเชยค่าทำงานบ้าน หลังหย่ากับภรรยา

ศาลจีนสั่งให้สามี จ่ายเงินชดเชยค่าทำงานบ้าน ให้กับภรรยา หลังจากทั้งสองหย่าขาดกัน ภรรยาอ้างสามีไม่ยอมดูแลบุตรและผลักภาระตลอด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว SCMP รายงานว่า ศาลในประเทศจีนได้ตัดสินให้นาย เฉิน ผู้เป็นสามีจ่ายเงินให้กับภรรยา นาง หวาง เป็นเงินกว่า 2 แสนบาท และต้องจ่ายให้กับอดีตภรรยาทุกเดือนเป็นเงิน 9 พันบาท เพื่อชดใช้ให้กับอดีตภรรยาที่ทำงานบ้านตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ทั้งสองแต่งงานกัน

ซึ่งการตัดสินในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศจีน 

หลังจากที่ทางการจีนเพิ่งอนุมัติกฎหมายการสมรสฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ว่าด้วยการทำงานบ้านโดยไม่รับค่าแรงที่บ้านของสตรี โดยกฎหมายฉบับนี้ถูกร่างขึ้น เพื่อช่วยเหลือภรรยาที่สามีได้ผลักภาระงานบ้านทั้งหมดมาให้พวกเธอ

โดย นาง ฉอง เหวิน ทนายที่เชี่ยวชาญด้านการหย่าร้างได้พูดถึงกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็นประโยชน์กับสังคม เพราะเป็นการทำให้การใช้แรงงานที่บ้านมีคุณค่ามากขึ้น เพราะตามปกติแล้วฝ่ายที่ต้องทำงานบ้าน จะเป็นคนที่ถูกลดทอนคุณค่าลงไป พร้อมชี้ว่าทักษะต่างๆในชีวิตจะถดถอยตามลงไปด้วย

อย่างไรก็ตามนาย ฉอง ชี้ว่าเงินชดเชยในคดีนี้น้อยเกินไป เช่นเดียวกันกับชาวเน็ตบางส่วนที่แสดงความเห็นไปทิศทางเดียวกันที่บอกว่าจำนวนที่ภรรยาได้น้อยเกินไป พร้อมชี้ว่า หากผู้เสียหายทำงานเพียงครึ่งปีก็จะได้เงินเทียบเท่ากับเงินชดเชยแล้ว

อดีตสองสามีภรรยาคู่นี้พบกันเมื่อปี 2553 ก่อนจะแต่งงานกันในห้าปีถัดมา อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่ราบรื่น จนนำไปสู่การแยกกันอยู่และหย่าร้างในเวลาต่อมา ทั้งนี้ฝั่งภรรยาได้ฟ้องสามีค่าเสียหายและเรียกร้องเงินชดเชย เนื่องจากสามีไม่ยอมทำงานบ้านและไม่ดูแลบุตร พร้อมกล่าวหาว่าสามีนอกใจอีกด้วย

ขณะเดียวกันทางการจีนได้ออกมาประณามและปฏิเสธมติของแคนาดา พร้อมชี้ว่ามติดังกล่าวเป็นการแทรกแซงกิจการในประเทศ พร้อมยืนยันว่าไม่เคยเกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้นในประเทศจีน

ก่อนหน้านี้เคยมีเอกสารออกมาเปิดโปงว่าทางการจีนได้ทำการกักตัวชาวมุสลิมที่ค่ายกักกันในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ในเอกสารดังกล่าวยังเคยได้ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนักในค่ายกักกันดังกล่าว

เกิดเหตุสลดในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อ เด็ก วัยเพียง 2 ขวบ หยิบช้อนที่แม่วางทิ้งไว้แหย่ปลั๊ก ก่อนจะโดน ไฟช็อต เสียชีวิต เด็ก ไฟช็อต – เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา เกิดเหตุสลดในเมืองเกซอน ซิตี ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อมีเด็กชายวัยเพียง 2 ขวบ ชื่อ เจค อันการา หยิบช้อนคนนมที่ อิโลอิซา อาเคย์ อันการา แม่วางทิ้งไว้ มาแหย่ปลั๊ก แล้วโดนไฟช็อตจนเสียชีวิต ซึ่งเจ้าหนูเพิ่งฉลองวันเกิดไปเพียง 12 วันก่อนหน้า

อิโลอิซา เผยกับ GMA News ว่าเธอวางช้อนไว้พ้นมือลูกแล้ว  “ตอนที่กำลังจะเปิดประตู ฉันได้ยินเสียงบางอย่างระเบิด ฉันกังวลใจเล็กน้อย แต่ก็คิดว่าคงเป็นเสียงอะไรบางอย่างหล่นลงมา จนกระทั่งสามีของฉันกรีดร้องออกมา และพูดว่าเจคนอนนิ่งอยู่ที่พื้น”

หลังเกิดเหตุ เธอพาลูกน้อยส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตของเด็กชายไว้ได้ ท่ามกลางความเสียใจของครอบครัวและคนรอบข้าง ซึ่งร่างของเจคจะถูกฝังในวันที่ 23 ก.พ. นี้

เฟซบุ๊กออสเตรเลีย เตรียมเปิดให้อ่านข่าวอีกครั้ง หลังขัดแย้งกับ รบ.

เฟซบุ๊กออสเตรเลีย เตรียมเปิดให้บริการอ่านข่าวอีกครั้ง หลังจากที่เฟซบุ๊กและรัฐบาลสามารถหาข้อตกลงปมความขัดแย้ง กฎหมายฉบับใหม่

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว BBC รายงานว่า ทางการออสเตรเลียได้ออกมาเปิดเผยถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างทางรัฐบาลและเฟซบุ๊ก หลังจากที่ทางการออกกฎให้ทางเฟซบุ๊กและกูเกิ้ลต้องจ่ายเงินให้กับสำนักข่าว จนนำไปสู่การปิดหน้าข่าวบนเฟซบุ๊กของประเทศออสเตรเลีย

โดยทางการระบุว่า หน้าข่าวในเฟซบุ๊กออสเตรเลียจะกลับมาในเร็วๆนี้ ซึ่งทางการเล็งแก้ไขกฎหมายข้อดังกล่าวในเร็ววัน

ด้านเฟซบุ๊กได้ออกมาสัมภาษณ์เช่นเดียวกันว่า การหารือครั้งล่าสุดกับทางรัฐบาลทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจมากขึ้น ซึ่งพวกเขากล่าวว่าในอนาคตทางเฟซบุ๊กจะสามารถเลือกได้ว่าแหล่งข่าวที่ปรากฏบนเว็บมีที่มาจากที่ใดบ้าง

เฟซบุ๊กออสเตรเลียยืนยันว่าพวกเขาจะเลือกสื่อท้องถิ่นหรือสื่อขนาดเล็ก เพื่อเป็นการสนับสนุนพวกเขาด้วย

ก่อนหน้านี้ ทางการออสเตรเลียอนุมัติกฏหมายบังคับให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่อย่าง กูเกิ้ล หรือ เฟซบุ๊ก ให้จ่ายรายได้ส่วนหนึ่งให้กับเว็บไซต์ข่าว เพื่อเป็นการช่วยเหลือสื่อสารมวลชน หลังรายได้ลดลงร้อยละ 75 ตั้งแต่ช่วงปี 2548

ซึ่งทางรัฐบาลออสเตรเลียมองว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ใช้เว็บไซต์เพื่ออ่านข่าว จึงให้เว็บไซต์จ่ายเงินให้กับสื่อสำนักต่างๆ

ทั้งนี้ด้านเฟซบุ๊กและกูเกิล ได้ออกมาค้านกฎหมายฉบับดังกล่าว และชี้ว่าเป็นการลงโทษพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า